Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

       
 

มาตรฐานการบัญชี
    มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินไทยในปัจจุบัน ครอบคลุมถึง
     แม่บทการบัญชี
    มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการ
        รายงานทางการเงิน
     การตีความมาตรฐานการบัญชี
     แนบปฏิบัติทางการบัญชี
    ส่วนใหญ่อ้างอิงจาก IFRS ฉบับที่คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (IASB) แก้ไขสิ้นสุดในปี 2008 (IFRS)  ฉบับที่เข้าเล่มปี  2009 (Bound Volume 2009)      มาตรฐานการบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินในปัจจุบันสามารถแยกได้ดังนี้
     มาตรฐานบัญชีและมาตรฐานการรายงานทางการเงินอ้างอิงจาก IFRS ที่จะมีผลบังคับใช้ในปี 2554 และ 2556
               แม่บทการบัญชี (ปรับปรุง 2552)
                TAS 1 (ปรับปรุง 2552) การนำเสอนงบการเงิน
                TAS 2 (ปรับปรุง 2552) สินค้าคงเหลือ
                TAS 7 (ปรับปรุง 2552) งบกระแสเงินสด
                TAS 8 (ปรับปรุง 2552) นโยบายการบัญชี การเปลี่ยนแปลงประมาณการทางบัญชีและการแก้ไขข้อผิดพลาด
                TAS 10 (ปรับปรุง 2552) เหตุการณ์ภายหลังรอบระยะเวลารายงาน
                TAS 11 (ปรับปรุง 2552) สัญญาก่อสร้าง
                TAS 12 ภาษีเงินได้
                TAS 16 (ปรับปรุง 2552) ที่ดิน อาคารและอุปกรณ์
                TAS 17 (ปรับปรุง 2552) สัญญาเช่า
                TAS 18 (ปรับปรุง 2552) รายได้
                TAS19 (ปรับปรุง 2552) ผลประโยชน์ของพนักงาน
                TAS 20 (ปรับปรุง 2552) การบัญชีสำหรับเงินอุดหนุนจากรัฐบาลและการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับความช่วยเหลือจากรัฐบาล
                TAS 21 (ปรับปรุง 2552) ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
                TAS 23 (ปรับปรุง 2552) ต้นทุนการกู้ยืม
                TAS 24 (ปรับปรุง 2552) การเปืดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลและกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
                TAS 26 การบัญชีและการรายงานโครงการผลประโยชน์เมื่อเกษียณอายุ
                TAS 27 (ปรับปรุง 2552) งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ
                TAS 28 (ปรับปรุง 2552) เงินลงทุนในบริษัทร่วม
                TAS 29 การรายงานทางการเงินในสภาพเศรษฐกิจที่เงินเฟ้อรุนแรง
                TAS 31 (ปรับปรุง 2552) ส่วนได้เสียในการร่วมค้า
                TAS 33 (ปรับปรุง 2552) กำไรต่อหุ้น
                TAS 34 (ปรับปรุง 2552) งบการเงินระหว่างกาล
                TAS 36 (ปรับปรุง 2552) การด้อยค่าของสินทรัพย์
                TAS 37 (ปรับปรุง 2552) ประมาณการหนี้สิน หนี้สินที่อาจเกิดขึ้นและสินทรัพย์ที่อาจเกิดขึ้น
                TAS 38 (ปรับปรุง 2552) สินทรัพย์ไม่มีตัวตน
                TAS 40 (ปรับปรุง 2552) อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน
                TFRS 2 การจ่ายโดยใช้หุ้นเป็นเกณฑ์
                TFRS 3 (ปรับปรุง 2552) การรวมธุรกิจ
                TFRS 5 (ปรับปรุง 2552) สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก
                TFRS 6 การสำรวจและประเมินค่าแหล่งทรัพยากรแร่

ฉบับที่อ้างอิงจากมาตรฐานการบัญชีของสหรัฐอเมริกา (US GAAP) เช่น
               TAS 102 การรับรู้รายได้สำหรับธุรกิจอสังหาริมทรัพย์
               TAS 104 การบัญชีสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา
               TAS 105 การบัญชีสำหรับเงินลงทุนในตราสารหนี้และตราสารทุน
               TAS 106 การบัญชีสำหรับกิจการที่ดำเนินธุรกิจเฉพาะด้านการลงทุน

ฉบับที่ไม่ได้อ้างอิงจากมาตรฐานสากล (Local GAAP) เช่น
               TAS 101 หนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญ

ฉบับที่อ้างอิงจาก IFRS ที่ยกเลิกแล้ว
               TAS 14 การเสนอข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน
               TAS 48 การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลสำหรับเครื่องมือทางการเงิน
               TAS 103 การเปิดเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินของธนาคารและสถาบันการเงินที่คล้ายคลึงกัน

การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน
               IFRIC 15 สัญญาก่อสร้างอสังหาริมทรัพย์

แนวปฏิบัติทางการบัญชี
                แนวปฏิบัติทางการบัญชีสำหรับการบันทึกบัญชีสิทธิการเช่า
                แนวปฏิบัติทางการบัญชีสำหรับการรวมธุรกิจภายใต้การควบคุมเดียวกัน

โดยยกเว้นการบังคับใช้กับธุรกิจที่ไม่ใช่บริษัทมหาชนจำกัดตามประกาศสภาวิชาชีพฉบับที่ 21/2550 เรื่องการยกเว้นการบังคับใช้มาตรฐานการบัญชี
               TAS 7 งบการแสเงินสด
               TAS 14 การเสนอข้อมูลทางการเงินจำแนกตามส่วนงาน
               TAS 24 การเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลและกิจการที่เกี่ยวข้องกัน
               TAS 27 งบการเงินรวมและงบการเงินเฉพาะกิจการ
               TAS 28 เงินลงทุนในบริษัทร่วม
               TAS 31 ส่วนได้เสียในกิจการร่วมค้า
               TAS 36 การด้อยค่าของสินทรัพย์
               TAS 48 การแสดงรายการและการเปิดเผยข้อมูลสำหรับเครื่องมือทางการเงิน

               TAS และ TFRS เหล่านี้ต้องถือปฏิบัติกับทุกกิจการสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1มกราคม 2554 โดยสภาวิชาชีพบัญชี ฯ
จะยกเว้นการบังคับใช้ TAS  และหรือ  TFRS บางฉบับให้กับกิจการที่มิใช่กิจการที่มีส่วนได้เสียต่อสาธารณะ    อย่างไรก็ตามเมื่อวันที่  24 ธันวาคม 2553
สภาวิชาชีพบัญชีฯได้ออกประกาศฉบับที่  62/2553  เรื่องคำชี้แจงเกี่ยวกับการจัดทำมาตรฐานการบัญชีสำหรับกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียต่อสาธารณะ
ว่าเนื่องจากกิจการในประเทศไทยกว่าร้อยละ 90 เป็นกิจการขนาดเล็กและเป็นกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียต่อสาธารณะ การกำหนดให้ทุนกิจการต้องปฏิบัติ
ตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับใหม่อาจไม่เหมาะสม  และเพื่อเป็นการบรรเทาภาระของกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียต่อสาธารณะ  และส่งเสริมให้
กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียต่อสาธารณะสามารถจัดทำและนำเสนองบการเงินได้อย่างถูกต้องและเป็นมาตรฐานเดียวกัน จึงของให้กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสีย
ต่อสาธารณะจัดทำบัญชีสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2554 โดยใช้มาตรฐานการบัญชีที่ปฎิบัติอยู่เดิมไปพลางก่อน
ทั้งนี้ สภาวิชาชีพบัญชีฯอยู่ในขั้นตอนการพิจารณาจัดทำมาตรฐานการบัญชีสำหรับ NPAEs และคาดว่าจะสามารถออกประกาศใช้มาตรฐานการบัญชี
เฉพาะกิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียต่อสาธารณะ (TFRS for SME) ภายในต้นปี 2554

นอกจากนี้ TAS และ TFRS บางฉบับที่มีเนื้อหาและวิธีปฏิบัติยากจะเลื่อนบังคับใช้กับงบการเงินที่มีรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มต้นในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2556

กิจการที่ไม่มีส่วนได้เสียต่อสาธารณะ (Non-Publicly Accountable Entities) หมายถึง กิจการที่ไม่ใช่กิจการดังต่อไปนี้
                กิจการที่มีตราสารทุนหรือตราสารหนี้ของกิจการซึ่งมีการซื้อขายในตลาดสาธารณะ (ไม่ว่าจะเป็นตลาดหลักทรัพย์ในประเทศหรือต่างประเทศ
                   หรือการซื้อขายนอกตลาดหลักทรัพย์ รวมทั้งตลาดในท้องถิ่นและในภูมิภาค) หรือ กิจการที่นำส่งหรืออยู่ในกระบวนการของการนำส่งงบการเงิน
                   ของกิจการให้แก่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือหน่วยงานกำกับดูแลอื่นเพื่อวัตถุประสงค์ในการออกขาย
                   หลักทรัพย์ใดๆ ในตลาดสาธารณะ หรือ
                กิจการที่ดำเนินธุรกิจหลักในการดูแลทรัพย์สินของกลุ่มบุคคลภายนอกในวงกว้าง เช่น สถาบันการเงิน บริษัทประกัน บริษัทหลักทรัพย์
                   กองทุนรวมและตามกฎหมายว่าด้วยการนั้น
                บริษัทมหาชน ตามกฎหมายว่าด้วยบริษัทมหาชน
                กิจการอื่นที่จะกำหนดเพิ่มเติม