Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

       
 


7. จรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
     7.1 ข้อกำหนดในเรื่องจรรยาบรรณ
            7.1.1 ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีหรือผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนไว้กับสภาวิชาชีพบัญชีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี และต้อง
            ปฏิบัติหน้าที่ ของตนตามมาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชี หรือมาตรฐานอื่นใดที่เกี่ยวข้องตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้
            7.1.2 สภาวิชาชีพบัญชี เป็นผู้จัดทำจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีขึ้นเป็นภาษาไทย และอย่างน้อยต้องประกอบด้วยข้อกำหนดในเรื่อง
            • ความโปร่งใส ความเป็นอิสระ ความเที่ยงธรรมและความซื่อสัตย์สุจริต
            • ความรู้ความสามารถและมาตรฐานในการปฏิบัติงาน
            • ความรับผิดชอบต่อผู้รับบริการและการรักษาความลับ
            • ความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ผู้เป็นหุ้นส่วน หรือบุคคลหรือนิติบุคคลที่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีปฏิบัติหน้าที่ให้
            7.1.3 การกระทำดังต่อไปนี้ ถือว่าเป็นการประพฤติผิดจรรยาบรรณ
            • ไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
            • ไม่ปฏิบัติหน้าที่ของตนตามมาตรฐานการบัญชี มาตรฐานการสอบบัญชี หรือมาตรฐานอื่นใดที่เกี่ยวข้องที่กำหนดตามพระราชบัญญัตินี้
            • ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตรายงานผลการสอบบัญชีโดยระบุข้อความใดอันแสดงว่าตนไม่รับผิดชอบในผลการตรวจสอบ หรือแสดงความไม่ชัดเจน
            ในผลการตรวจสอบเพราะเหตุที่ตนมิได้ปฏิบัติหน้าที่โดยครบถ้วนที่พึงคาดหวังได้หรือโดยครบถ้วนตามมาตรฐานการสอบบัญชี
     7.2 โทษของการประพฤติผิดจรรยาบรรณ ได้กำหนดตามลำดับชั้นจากโทษเบาถึงโทษหนัก ดังต่อไปนี้
            7.2.1 ตักเตือนเป็นหนังสือ
            7.2.2 ภาคทัณฑ์
            7.2.3 พักใช้ใบอนุญาต พักการขึ้นทะเบียน หรือห้ามการประกอบวิชาชีพบัญชีด้านที่ประพฤติผิดจรรยาบรรณโดยมีกำหนดเวลาแต่ไม่เกิน 3 ปี
            7.2.4 เพิกถอนใบอนุญาต เพิกถอนการขึ้นทะเบียนหรือสั่งให้พ้นจากการเป็นสมาชิก
     7.3 การพิจารณาและการลงโทษ เมื่อมีผู้กล่าวหาหรือปรากฏต่อคณะกรรมการจรรยาบรรณว่า ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีหรือผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนไว้กับสภา
            วิชาชีพบัญชีประพฤติผิดจรรยาบรรณ คณะกรรมการจรรยาบรรณจะดำเนินการสอบสวนพิจารณาโดยเร็ว หากผลการสอบสวนปรากฏว่าผู้นั้นประพฤติผิด
            จรรยาบรรณคณะกรรมการจรรยาบรรณ จะมีคำสั่งลงโทษตามข้อ 7.2 ทั้งนี้การออกคำสั่งลงโทษหรือออกคำสั่งยกคำกล่าวหาต้องแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหา
            หรือผู้กล่าวหาทราบเป็นหนังสือโดยเร็วด้วย
     7.4 ผู้กล่าวหาหรือผู้ซึ่งถูกคณะกรรมการจรรยาบรรณสั่งลงโทษมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งต่อคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชีผ่านทางกรมพัฒนา
            ธุรกิจการค้าได้ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่ง ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชีกำหนด และ
            การอุทธรณ์ คำสั่งไม่เป็นการทุเลาการปฏิบัติตามคำสั่งลงโทษ เว้นแต่คณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชีจะสั่งเป็นอย่างอื่น
            ทั้งนี้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการ กำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชีให้ถือเป็นที่สุด


8. การกำกับดูแลโดยภาครัฐ
     ถึงแม้ว่าพระราชบัญญัติจะกำหนดให้มีสภาวิชาชีพบัญชีเป็นศูนย์รวมในการกำกับดูแลผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีแล้ว แต่ก็ยังมีความจำเป็นที่จะต้องมีภาครัฐ
เข้าไปกำกับดูแลองค์กรวิชาชีพอีกชั้นหนึ่งเพื่อรักษาความเป็นธรรมให้แก่ผู้ประกอบวิชาชีพ โดยมีคณะกรรมการกำกับดูแลการประกอบวิชาชีพบัญชีทำหน้าที่
กำกับด้านนโยบายจำนวน 14 คน ประกอบด้วยหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชน และผู้ทรงคุณวุฒิด้านบัญชีและกฎหมาย ทำหน้าที่กำกับดูแลการทำงาน
ของสภาวิชาชีพบัญชีเฉพาะเรื่องที่สำคัญและมีผลกระทบต่อสาธารณชน โดยเรื่องที่ต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกำกับดูแล
การประกอบวิชาชีพบัญชี คือ
     8.1 ให้ความเห็นชอบข้อบังคับเกี่ยวกับ ค่าธรรมเนียม/ค่าบำรุงสมาชิก,หลักเกณฑ์การฝึกอบรม,คุณสมบัติและลักษณะต้องห้ามของนายกสภาฯ
            กรรมการสภาฯเป็นต้น
     8.2 พิจารณาคำขออุทธรณ์ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีซึ่งคณะกรรมการจรรยาบรรณสั่งลงโทษ
     8.3 พิจารณาคำขออุทธรณ์กรณีสภาวิชาชีพบัญชีไม่ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นคำขอ
     8.4 ให้ความเห็นชอบมาตรฐานการบัญชีที่เสนอโดยสภาวิชาชีพบัญชี

9. นิติบุคคลที่ประกอบกิจการให้บริการด้านวิชาชีพควบคุมนิติบุคคลซึ่งประกอบกิจการให้บริการด้านการสอบบัญชีหรือด้านการทำบัญชีต้องดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
     9.1 นิติบุคคลต้องจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชีตามเงื่อนไข ดังนี้
     • นิติบุคคลที่ให้บริการการสอบบัญชี หรือการทำบัญชีอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 ใช้บังคับ ให้ยื่นจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี
        ภายใน 1 ปี นับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ คือ ภายในวันที่ 22 ตุลาคม 2548 แต่หากให้บริการภายหลังจากวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
        ให้ยื่นขอจดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชี ภายใน 30 วัน หลังจากการจดทะเบียนจัดตั้งนิติบุคคลที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์แล้วเสร็จ
        โดยสภาวิชาชีพบัญชีได้กำหนดค่าจดทะเบียนนิติบุคคลไว้รายละ 2,000 บาท และต้องยื่นขอต่ออายุทุก 3 ปี นับจากวันจดทะเบียนกับสภาวิชาชีพบัญชี
        โดยดำเนินการต่ออายุภายใน 3 เดือนก่อนใบทะเบียนหมดอายุ
      • นิติบุคคลนั้นต้องจัดให้มีหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สามตามประเภท จำนวน หลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนดโดยกฎกระทรวง
      • ในกรณีนิติบุคคลนั้นประกอบกิจการให้บริการสอบบัญชี บุคคลซึ่งมีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลในการให้บริการสอบบัญชีต้องเป็นผู้สอบบัญชี
        รับอนุญาตทั้งนี้ ในกรณีที่นิติบุคคลนั้นให้บริการการสอบบัญชีหรือการทำบัญชีอยู่ก่อนวันที่ 23 ตุลาคม 2547
        ซึ่งเป็นวันที่กฎหมายฉบับนี้ใช้บังคับ นอกจากกำหนดให้จดทะเบียนต่อสภาวิชาชีพบัญชีแล้ว
      • นิติบุคคลนั้นต้องจัดให้มีหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สามให้ครบถ้วนภายในระยะเวลาตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
        ซึ่งต้องไม่เกินกว่าสามปี
      • กรณีที่เป็นนิติบุคคลที่ให้บริการสอบบัญชี ก็ต้องดำเนินการให้บุคคลซึ่งมีอำนาจลงนามผูกพันนิติบุคคลในการให้บริการสอบบัญชีต้องเป็นผู้สอบบัญชี
         ภายในสามปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับนั้น ก็คือภายในวันที่ 22 ตุลาคม 2550 นั่นเอง
      9.2 ในกรณีผู้สอบบัญชีต้องรับผิดชอบต่อบุคคลที่สาม นิติบุคคลซึ่งผู้สอบบัญชีนั้นสังกัดอยู่ ต้องร่วมรับผิดด้วยอย่างลูกหนี้ร่วม และหากยังไม่สามารถชำระ
             ค่าเสียหายได้ครบจำนวนให้หุ้นส่วนหรือกรรมการผู้มีอำนาจผูกพันนิติบุคคลนั้น ต้องร่วมรับผิดจนครบจำนวนเว้นแต่พิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนรู้เห็น
             หรือยินยอมในการกระทำผิดที่ต้องรับผิด

10. บทกำหนดโทษ
       บทกำหนดโทษตามพระราชบัญญัติวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2547 นี้ มีทั้งโทษฐานประพฤติผิดจรรยาบรรณตามที่ได้กล่าวมาแล้วในข้อ 7 และโทษทางอาญา
ซึ่งมีทั้งโทษปรับและจำคุก

กฏหมายที่เกี่ยวข้อง
       พระราชบัญญิติการบัญชี พ.ศ. 2543
       พระราชบัญญัตวิชาชีพการบัญชี พ.ศ. 2547


หน้า  1  2  3